ประกาศแล้ว! กม.ผู้สูงอายุ ดึงเงินภาษีบาป 2% จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

๒๗ ธ.ค.๖๐ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติ ผู้สูงอายุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ มีรายละเอียดระบุว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชา ติทําหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๑๑/๑) ของมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ “(๑๑/๑) การจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยตามมาตรา ๑๕/๓”

มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๒/๑) ของมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ “(๒/๑) เงินบํารุงกองทุนที่ได้รับตามมาตรา ๑๕/๑”
มาตรา ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๕/๑ มาตรา ๑๕/๒ มาตรา ๑๕/๓ มาตรา ๑๕/๔ มาตรา ๑๕/๕ มาตรา ๑๕/๖ มาตรา ๑๕/๗ และมาตรา ๑๕/๘ แห่งพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ “มาตรา ๑๕/๑ ให้เรียกเก็บเงินบํารุงกองทุนจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตในส่วนท่ี เกี่ยวกับ สินค้าสุราและยาสูบในอัตราร้อยละสองของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบตามกฎหมาย ว่าด้วยภาษี สรรพสามิต และให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีดังกล่าวเป็นผู้มีหน้าที่ส่งเงินบํารุงกองทุน พร้อมกับชําระภาษี สรรพสามิต ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนด ในการคํานวณเงินบํารุงกองทุนตามวรรคหนึ่ง หากมีเศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง มาตรา ๑๕/๒ ให้กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรเป็นผู้ดําเนินการเรียกเก็บเงินบํารุงกองทุน ตามมาตรา ๑๕/๑ เพื่อนําส่งเข้ากองทุนตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนด โดยไม่ต้องนําส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน เพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บเงินบํารุงกองทุนตามวรรคหนึ่ง เงินบํารุงกองทุนให้ถือเป็นภาษี แต่ไม่ให้นําไปรวมคํานวณเป็นมูลค่าของภาษี

ในกรณีที่ปีงบประมาณใดมี เงินบํารุงกองทุนส่งเข้ากองทุนเกินสี่พันล้านบาท ให้กรมกิจการผู้สูงอายุนําเงินบํารุงกองทุนส่วนที่เกินนั้นส่งคลังเป็นราย ได้แผ่นดินภายในสามสิบวันนับจากวันที่กองทุน ได้รับ มาตรา ๑๕/๓ ให้คณะกรรมการจัดสรรเงินบํารุงกองทุนตามมาตรา ๑๔ (๒/๑) และเงินที่มี ผู้บริจาคเข้ากองทุนตามมาตรา ๑๔ (๓) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อจ่ายเป็นเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพ แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย สําหรับจ่ายเป็นเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย

คุณสมบัติ ของผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยและการจัดสรรเงินตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนด มาตรา ๑๕/๔ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้าสุราและ ยาสูบ ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิตได้รับการยกเว้น ลดหย่อน หรือคืนภาษี ให้ได้รับการยกเว้นลดหย่อน หรือคืนเงินบํารุงกองทุนด้วย ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนด มาตรา ๑๕/๕ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบํารุงกองทุนไม่ส่งเงินบํารุงกองทุนหรือส่งภาย หลัง ระยะเวลาที่กําหนด หรือส่งเงินบํารุงกองทุนไม่ครบตามจํานวนที่ต้องส่ง ให้เสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ สองต่อเดือนของจํานวนเงินที่ไม่ส่งหรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กําหนดหรือจํา นวนเงินที่ส่งขาดไป

แล้วแต่กรณี นับแต่วันครบกําหนดส่งจนถึงวันที่ส่งเงินบํารุงกองทุน แต่เงินเพิ่มที่คํานวณได้มิให้เกินจํานวน เงินบํารุงกองทุนและให้ถือว่าเงินเพิ่มนี้เป็นเงินบํารุงกองทุนด้วย ในการคํานวณระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน

มาตรา ๑๕/๖ ผู้มีหน้าที่ส่งเงินบํารุงกองทุนผู้ใดโดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีก เลี่ยง ไม่ส่งเงินบํารุงกองทุน หรือส่งเงินบํารุงกองทุนไม่ครบตามจํานวนที่ต้องส่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน หนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าเท่าถึงยี่สิบเท่าของเงินบํารุงกองทุนที่จะต้องนําส่ง หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา ๑๕/๗ ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้น เกิดจากการสั่งการหรือการกระทําของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบใน การดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทําการ และละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทําการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทําความ ผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย มาตรา ๑๕/๘ ความผิดตามมาตรา ๑๕/๖ และมาตรา ๑๕/๗ ถ้าอธิบดีกรมสรรพสามิตหรือผู้ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิตเห็นว่าผู้ ต้องหาไม่ควรได้รับโทษถึงจําคุก ให้มีอํานาจเปรียบเทียบได้”

มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ และ ืให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๔ ให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจออก ประกาศหรือระเบียบเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวงนั้น ประกาศหรือระเบียบนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้” ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคม
ผู้สูงอายุ รัฐบาลจึงมีนโยบายและมาตรการในการดูแลผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยโดยการให้เงินช่วยเหลือ
เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย เพื่อให้ได้รับสวัสดิการที่จําเป็น แต่เนื่องจากกองทุนผู้สูงอายุ
ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนผู้สูงอายุมีรายได้
ไม่เพียงพอต่อการดําเนินการในเรื่องดังกล่าว จึงสมควรเพิ่มบทบัญญัติเรื่องการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูง อายุที่มีรายได้น้อย และบทบัญญัติเกี่ยวกับที่มาของเงินกองทุนเพื่อให้รวมถึงเงินบํารุงกองทุนที่ ได้รับจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้าสุราและ ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิตโดยให้เรียกเก็บเงินบํารุงกองทุนจากผู้ มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้าสุราและยาสูบในอัตรา ร้อยละสองของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต และให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีดังกล่าวเป็นผู้มีหน้าที่ส่งเงินบํารุงกองทุน และให้กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรเป็นผู้ดําเนินการเรียกเก็บเงินบํารุงกอง ทุนเพื่อนําส่งเข้ากองทุน และในปีงบประมาณที่มีเงินบํารุงกองทุนส่งเข้ากองทุนเกินสี่พันล้านบาทให้กรม กิจการผู้สูงอายุนําเงินบํารุงกองทุนส่วนที่เกินนั้นส่งคลังเป็นรายได้ แผ่นดิน กําหนดให้คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติจัดสรรเงินบํารุงกองทุน และเงินที่มีผู้บริจาคเข้ากองทุนซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อจ่ายเป็นเงิน สงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย สําหรับจ่ายเป็นเงินสงเคราะห์ดังกล่าว กําหนดกรณีการได้รับการยกเว้น ลดหย่อน หรือคืนเงินบํารุงกองทุน และกรณีที่ต้องเสียเงินเพิ่ม รวมทั้งเพิ่มบทกําหนดโทษ และการเปรียบเทียบคดี และแก้ไขเพิ่มเติมให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาการตามกฎหมาย ด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ที่มา มติชนออนไลน์
(https://www.matichon.co.th/news/782255)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *